สาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ทำให้ทางกระทรวงสาธารณสุข และทางเขตร้อน ไม่แนะนำให้กินยาป้องกันมาลาเรียในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยก็เพราะว่าความเสี่ยงที่จะติดมาลาเรียมีน้อยมาก ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยต่อว่าที่ว่ามันน้อยมากนะ มันน้อยแค่ไหน และวัดกันได้อย่างไร เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังครับ
แต่ก่อนอื่น มีบางประเด็นที่อยากจะให้ทำความเข้าใจก่อนครับ
1. ความเสี่ยงในการติดเชื้อมาลาเรียของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยมากมาย คือ
– สถานที่ที่จะไป ความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากันครับ ขึ้นอยู่กับความชุกของโรคและความหนาแน่นของยุงบริเวณดังกล่าว แต่ถ้าคิดง่ายๆ ถ้าเราไปเที่ยวในบริเวณที่คนไปเที่ยวกันมากๆ หรือเจริญเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แล้ว โอกาสติดน้อยครับ ถ้าเราไปเที่ยวที่ยังเป็นป่าลึก ที่ยังไม่มีใครเคยไปสำรวจ โอกาสติดก็จะมากกว่าครับ
– ฤดูกาลที่ไป ถ้าเราไปเที่ยวในฤดูฝน โอกาสติดมาลาเรียจะสูงกว่าการไปเที่ยวในฤดูร้อน หรือฤดูหนาวครับ เนื่องจากยุงเจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน
– ระยะเวลาที่ไป อันนี้ตรงไปตรงมาครับ ถ้าเราเข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดมาลาเรียนาน โอกาสจะติดมาลาเรียก็ย่อมมากกว่าผู้ที่เข้าไปในระยะเวลาสั้น
– กิจกรรมที่ทำเวลาท่องเที่ยว เนื่องจากยุงก้นปล่องที่นำเชื้อมาลาเรีย มักออกหากินเวลากลางคืน โดยเฉพาะเวลาพลบค่ำหรือย่ำรุ่ง ดังนั้นนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางที่มีกิจกรรมในเวลาดังกล่าว เช่นมีการเล่นแค้มป์ไฟ ส่องสัตว์ เดินไปดูพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก ย่อมมีโอกาสถูกยุงกัดและมีโอกาสเป็นมาลาเรียได้มาก ดังนั้นช่วงเวลาดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ยากันยุงครับ
– การป้องกันไม่ให้ยุงกัด เป็นสิ่งที่ต้องแนะนำกันทุกครั้งครับ เพราะเป็นสิ่งสำคัญมาก ลองคิดดูนะครับถ้าเราป้องกันไม่ให้ยุงกัดได้ เราก็จะป้องกันมาลาเรียได้นั่นเอง แต่อาจจะมีคำถามกลับมาว่า ใครจะป้องกันยุงได้ 100 % โอเค ครับมันอาจจะป้องกันไม่ได้ทั้งหมด แต่รับรองได้ว่าถ้าไปเที่ยวด้วยกันแล้วคนกลุ่มหนึ่งนอนกางมุ้ง และใช้ยากันยุงตลอด โอกาสติดมาลาเรียจะน้อยกว่าคนที่ไม่ใช้ยากันยุงเลย และนอนตากยุงครับ
– ปัจจัยของแต่ละบุคคล เช่น อายุ เพศ สารเคมีและภูมิคุ้มกันของร่างกาย ฯลฯ เชื่อว่าอาจจะมีผลบ้างต่อการติดเชื้อมาลาเรีย แต่เชื่อว่ามีผลน้อยมากครับเมื่อเทียบกับในข้อต้นๆ ครับ โดยเฉพาะเรื่องของภูมิคุ้มกัน คนที่จะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคมาลาเรียได้ต้องอยู่ในแหล่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียสูง และต้องเคยเป็นมาลาเรียมาหลายครั้งมาก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเฉพาะในแอฟริกา เราต้องถือว่าคนไทยเราโดยทั่วไปไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคมาลาเรียครับ
2. การจะบอกอัตราเสี่ยง (Risk) ว่าในการติดเชื้อมาลาเรียในการเดินทางท่องเที่ยวในที่ใดที่หนึ่ง อย่างน้อยที่สุดเราต้องรู้ตัวเลข 2 ตัวคือ 1. จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปในพื้นที่นั้นๆ . . . → Read More: ความเสี่ยงในการติดมาลาเรียในประเทศไทย (1)