(Thai) เวชศาสตร์ท่องเที่ยว (Travel Medicine) คืออะไร

หลายต่อหลายคนคงทำหน้างง เมื่อได้ยินคำว่า เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว หรือ Travel Medicine เป็นครั้งแรก บางคนอาจจะพอเดาหรือคุ้นๆว่า “เวชศาสตร์” น่าจะเป็นอะไรที่เกี่ยวกับการแพทย์ เกี่ยวกับหมอๆ แต่การแพทย์จะมาเกี่ยวกับการเดินทางและท่องเที่ยวได้อย่างไร ก็ต้องบอกอย่างนี้ครับว่า คำว่าเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวเป็นศาสตร์ทางการแพทย์สาขาหนึ่ง ซึ่งพัฒนาขึ้นมากในช่วงประมาณ 20-30 ปีหลังมานี้ เนื่องจากมนุษย์เรามีการเดินทางกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพต่างๆที่เกี่ยวกับการเดินทางได้ ตัวอย่างง่ายๆที่เรารู้จักกันดีเช่น เวลาเราไปเที่ยวตามป่าเขา เราต้องระวังโรคไข้ป่า หรือโรคมาลาเรีย เพราะเราเข้าไปในพื้นที่ที่มียุงก้นปล่องอยู่ซึ่งเป็นตัวการนำโรค ถ้าเราอยู่แต่ในเมืองเราก็จะไม่มีโอกาสติดไข้มาลาเรีย แต่เวลาไปเที่ยวป่าก็ต้องระวังไว้ หรือเวลาเราเดินไปไปประเทศแถบแอฟริกา หรือเอเชียใต้ อาจต้องระวังโรคไทฟอยด์ ซึ่งนำโดยอาหารที่ไม่สะอาด จำเป็นต้องระวังเรื่องการกินอาหารหรือพิจารณาฉีดวัคซีนกันไว้ล่วงหน้า

จริงๆนอกจากเรื่องโรคติดเชื้อต่างๆแล้ว เวชศาสตร์ท่องเที่ยวฯยังคลอบคลุมถึงภาวะทางสุขภาพอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่ที่อาจเกี่ยวพันกับการเดินทางเช่น ถ้าเราจะเดินทางไปในภูเขาหรือในแถบที่สูงมากๆ เช่นจะไปทิเบต หรือเปรู เราอาจต้องระวังโรค High altitude sickness หรือถ้าคนเป็นโรคประจำตัวต่างๆ เช่นโรคหัวใจ โรคปอด จะเดินทางไปเที่ยว หรือขึ้นเครื่องบินไกลๆ จะไปได้ไหม และต้องเตรียมตัวอย่างไร เหล่านี้เป็นส่วนที่เกี่ยวพันกับ Travel Medicine ทั้งสิ้น

ความหนาแน่นของการจราจรทางอากาศในปัจจุบัน

นอกเหนือจากการป้องกันโรคแล้ว เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวยังให้ความสำคัญต่อการดูแลรักษาโรคหลังการเดินทาง เช่น เราไปเที่ยวแอฟริกากลับมาแล้วมีไข้ หรือเกิดท้องเสีย อาการเหล่านั้นอาจจะเกิดจากการติดเชื้อโรคจากแอฟริกาก็ได้ ซึ่งอาจไม่เหมือนโรคที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯของเรา ดังนั้นพวกเราทุกคนที่ชอบการเดินทางท่องเที่ยวจำเป็นต้องเตรียมตัวให้ดีก่อนการเดินทาง และถ้ามีปัญหาสุขภาพใดๆเกิดขึ้นระหว่างหรือกลับจากการเดินทางแล้ว จำเป็นต้องบอกหมอที่ดูแลด้วยนะครับว่า เราเดินทางไปไหนมาบ้างในช่วงที่ผ่านมา เพราะถ้าไม่บอกคุณหมอเขาเลย คุณหมออาจไม่ได้นึกถึงโรคของประเทศอื่น นอกจากนี้ปัญหาสุขภาพในนักเดินทางไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะตัวเท่านั้น แต่อาจมีผลกระทบถึงประชากรทั่วไปที่ไม่ได้เดินทางท่องเที่ยวด้วย เนื่องจากผู้เดินทางอาจเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ทำให้มีการระบาดของโรคติดต่อข้ามประเทศได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบในวงกว้างได้ เช่น การระบาดของโรค Ebola ในแอฟริกา และการระบาดของโรค MERS ในตะวันออกกลาง

สำหรับในประเทศไทยหรือประเทศในแถบเอเซีย ต้องยอมรับว่าการแพทย์สาขา Travel Medicine ไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนัก ดังจะเห็นว่าสำหรับคนไทยแล้ว พวกเราไม่เคยคิดหรือไม่เคยรู้มาก่อนเลยใช่ไหมครับ ว่าก่อนเดินทางบางครั้งควรต้องปรึกษาแพทย์ด้วย แต่ในประเทศตะวันตก ทั้งในยุโรปและอเมริกา นับว่าเป็นเรื่องธรรมดาเลยครับ ถ้าใครสักคนจะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ โดยเฉพาะเที่ยวประเทศเขตร้อน เขาต้องไปพบแพทย์ก่อน เพื่อฉีดวัคซีน และขอคำปรึกษาต่างๆ จากการสำรวจโดยหน่วยวิจัยเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง คณะเวชศาสตร์เขตร้อนในปี 2551 ที่ถนนข้าวสารพบว่า . . . → Read More: (Thai) เวชศาสตร์ท่องเที่ยว (Travel Medicine) คืออะไร