การตรวจคัดกรองวัณโรค Tuberculin skin test (TB skin test)

การตรวจคัดกรองวัณโรค เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและสร้างความสับสนให้กับนักเรียน นักศึกษาที่กำลังจะไปเรียนเมืองนอก รวมถึงผู้ปกครองไม่น้อย เพราะก่อนไปเรียนมักจะมีใบเกี่ยวกับสุขภาพมาให้แพทย์กรอก และหนึ่งในนั้นมักจะกำหนดให้ต้องตรวจคัดกรองวัณโรคอยู่ด้วย ซึ่งนอกจากจะหาที่ตรวจยากแล้ว การตรวจยังยุ่งยาก ต้องเจ็บตัว และมาโรงพยาบาล 2 ครั้ง นอกจากนี้ผลการตรวจยังแปลยาก และอาจสร้างความกังวลและตกใจได้ การที่จะเข้าใจเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ เพราะมีประเด็นต่างๆมากมายมาเกี่ยวข้อง

ลองค่อยๆอ่านดูทีละประเด็นนะครับ

1. อย่างแรกเลยที่จะต้องทราบคือ การตรวจ Tuberculin skin test หรือ TB Skin test หรือ PPD test หรือ Mantoux test เป็นการพูดถึงการตรวจอย่างเดียวกัน แต่เรียกได้หลายชื่ออาจทำให้สับสนได้ แต่ขอให้เข้าใจว่าชื่อ test ต่างๆนั้นหมายถึงเรื่องเดียวกัน และในที่นี่เราจะใช้ว่า Tuberculin skin test

2. การตรวจ Tuberculin skin test เป็นการตรวจปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อเชื้อวัณโรค ทำได้โดยการฉีดเศษของเชื้อวัณโรคเข้าไปใต้ผิวหนัง เพื่อทดสอบว่าร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อต้านเชื้อวัณโรคนี้มากน้อยแค่ไหน ถ้าร่างกายมีการต่อต้านมาก ก็จะเกิดการบวมอักเสบขึ้นมา โดยทั่วไปถือว่า ถ้ามีรอยนูนมากกว่า 10 mm ถือว่าการทดสอบให้ผลบวก (Tuberculin skin test – Positive) แสดงว่าคนคนนั้นน่าจะเคยสัมผัสเชื้อวัณโรค ทำให้มีปฏิกิริยาต่อต้านขึ้นมาให้เราเห็น ตรงนี้ต้องขอพูดอีกทีนะครับว่า การที่มีผลบวกแปลว่า เคยสัมผัสเชื้อ ไม่ได้แปลว่าเป็นวัณโรค

การตรวจ Tuberculin skin test

(Public domain photo: CDC’s Public Health Image Library)

3. ประเทศไทยหรือประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ถือว่าเป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดของวัณโรคอยู่มาก ดังนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงสามารถสัมผัสเชื้อวัณโรคได้บ่อยตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีคนอยู่กันอย่างหนาแน่น เพราะเชื้อวัณโรคแพร่กระจายได้ทางอากาศ แต่การที่คนเราสัมผัสโรคไม่ได้แปลว่าจะเป็นโรคเสมอไป ถ้าร่างกายแข็งแรง มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่ร่างกายไม่แข็งแรง เมื่อสัมผัสเชื้อแล้ว ร่างกายไม่สามารถต่อสู้ได้ ทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อ ทำให้เกิดวัณโรคขึ้นมา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการไข้ . . . → Read More: การตรวจคัดกรองวัณโรค Tuberculin skin test (TB skin test)