ช่วงนี้มีคำถามเข้ามาในคลินิกนักท่องเที่ยวของเรามากขึ้นครับว่า เราควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่หรือไม่ เพราะในปีนี้ (พศ.2566) ประเทศไทยเรามีวัคซีนไข้เลือดออกตัวที่สองที่ขึ้นทะเบียนมีชื่อการค้าว่า QDenga® หรือชื่อทางเทคนิกว่า TAK-003 วัคซีนตัวใหม่นี้มีมีความแตกต่างจากตัวแรกพอสมควร ทั้งในแง่เทคโนโลยีในการผลิตวัคซีน ประสิทธิภาพ และวิธีการฉีด ฯลฯ
ทำให้เกิดคำถามว่าจะฉีดวัคซีนตัวใหม่ดีไหม แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นคำถามที่ง่ายๆ แต่ในความจริงแล้วเป็นคำถามที่ตอบยากครับ เพราะต้องเข้าใจข้อมูลพื้นฐานในหลายๆเรื่องก่อน แพทย์เราเองต้องอธิบายข้อมูลแก่ผู้มาขอฉีดวัคซีน ว่าวัคซีนเป็นอย่างไร ป้องกันโรคได้ดีไหม ป้องกันได้กี่ปี มีผลข้างเคียงเยอะไหม ต้องเป็นไข้เลือดออกก่อนไหมถึงฉีดได้ ราคาเท่าไร ต้องฉีดกี่เข็ม ฯลฯ
เราลองมาเริ่มด้วยข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับไข้เลือดออกก่อน
เมื่อเราพูดถึงไข้เลือดออกในที่นี่เราหมายถึงเฉพาะไข้เลือดออกจากเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) ซึ่งเป็นไข้เลือดออกที่พบในประเทศไทย และประเทศเขตร้อนอื่นๆ จริงๆคำว่าไข้เลือดออก (Viral Hemorrhagic fever) มีอีกหลายชนิดครับ ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้เหลือง โรคอีโบล่า ฯลฯ แต่ในที่นี่ขอให้เข้าใจว่าเรากำลังพูดถึงโรคไข้เลือดออกและวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกจากเชื้อเดงกีเท่านั้น นั่นหมายความว่าการฉีดวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ไม่สามารถป้องกันโรคอีโบลา หรือไข้เหลืองได้ เชื้อไวรัสเดงกีนี้มี 4 สายพันธุ์ คือ Dengue 1 (DEN1), Dengue 2 (DEN2), Dengue 3 (DEN3), และ Dengue 4 (DEN4) ตามทฤษฎีเชื่อว่าเมื่อคนใดมีการติดเชื้อเดงกีสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้นไปตลอดชีวิต แต่คนนั้นอาจติดเชื้อและเป็นโรคจากสายพันธุ์อื่นในภายหลังก็ได้ โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีความรุนแรงต่างกันได้มากครับ บางคนเมื่อถูกยุงที่มีเชื้อกัดแล้ว มีการติดเชื้อจริงแต่ไม่มีอาการใดๆเลย บางคนมีไข้เล็กน้อย ไม่ต้องมาหาหมอก็ยังได้ บางคนมีอาการไข้สูง อ่อนเพลีย บางคนมีไข้สูงมาก มีเกร็ดเลือดต่ำ มีเลือดออก ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก อาจมีเลือดออกมาก และมีภาวะช๊อครุนแรง จนบางรายเสียชีวิตได้ ความยากของโรคนี้อยู่ที่ว่า เราจะคาดการณ์ได้ยากว่าเมื่อถูกยุงลายที่มีเชื้อกัดแล้ว ใครจะเป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรง หรือใครอาการจะไม่รุนแรง และอย่างที่ว่าบางติดเชื้อแต่ไม่มีอาการใดๆเลยก็ได้ ทางการแพทย์เชื่อกันว่า การติดเชื้อไวรัสเดงกีครั้งหลังๆจากเชื้อคนละสายพันธุ์ (Secondary infection) อาจทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น ยกตัวอย่างอย่างนี้ครับ นาย ก. เกิดมาไม่เคยถูกยุงลายที่มีเชื้อโรคกัดเลย แต่บังเอิญเขาถูกยุงลายที่มีเชื้อกัดวันนี้ สมมุติว่าเป็นเชื้อสายพันธุ์ 1 (DEN1) ถ้าเขาติดเชื้อจะเป็น . . . → Read More: ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกดีไหม Update 2023