ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยเกี่ยวกับการป้องกันโรคแพ้ความสูง #1 (High altitude sickness misconception 1)

ช่วงนี้เข้าใกล้วันหยุดยาวช่วงเมษายนเข้ามาทุกทีครับ หลายๆท่านเริ่มวางแผนการท่องเที่ยวกันไว้แล้ว และหนึ่งในกิจกรรมที่เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทย ก็คือ การเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่สูง (High Altitude travel) ซึ่งช่วงนี้ก็จะเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวของหลายๆที่ ไม่ว่าจะเป็นการเดินเขา (Trekking) ในประเทศเนปาล, การเดินทางไปพื้นที่สูงในประเทศจีน อย่างแชงกรีล่า (Shangri-la) หรือ ย่าติง (Yading) หรือ เลห์-ลาดักห์ (Leh-Ladakh) ในประเทศอินเดีย เป็นต้น

หลายๆคนเริ่มมีความกังวลและหาข้อมูลจากหลายๆแหล่งเกี่ยวกับการเดินทางไปในพื้นที่สูงและอาการของโรคแพ้ความสูง (Acute Mountain Sickness) รวมไปถึงการป้องกันโดยวิธีต่างๆ และหลายคนเลือกมาปรึกษาที่คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง (Travel Clinic) ทำให้ช่วงนี้มีคนเข้ามาขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับโรคแพ้ความสูงกันเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม พบว่านักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งยังมีความเข้าใจผิดบางอย่างเกี่ยวกับอาการแพ้ความสูงและการป้องกันอยู่เป็นจำนวนมาก ใครยังไม่เคยอ่านข้อมูลทั่วไปเรื่อง Altitude sickness แนะนำให้อ่านก่อนครับ

วันนี้เรามาดูกันครับว่า มีอะไรบ้างที่พวกเราอาจจะยังเข้าใจผิดอยู่เกี่ยวกับการป้องกันโรคแพ้ความสูง

1. “กินยา Diamox (Acetazolamide) แล้วจะไม่เกิดอาการแพ้ความสูง”

จากประสบการณ์ในคลินิกนักท่องเที่ยว โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน พบว่าข้อนี้ เป็นความเข้าใจผิดที่พบบ่อยที่สุดครับ เพราะพวกเรามักจะคิดว่า ไปที่สูงทุกครั้งจะต้องกินยา Diamox ทุกครั้งและเมื่อกินแล้วก็จะไม่เกิดอาการแพ้ความสูงเลย ทำให้หลายๆครั้งที่นักท่องเที่ยวเข้ามาปรึกษาที่คลินิกฯ มักจะเข้ามาขอยา Diamox เพียงอย่างเดียวหรือหาซื้อเองตามร้านขายยา และใช้ยากันเกินความจำเป็น

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การจะดูว่าเราจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ความสูงมีมากน้อยขนาดไหน เราต้องกลับมาดูที่แผนการเดินทางของเราเป็นหลักเลยครับ ถ้าเอาตามทฤษฎี การป้องกันการเกิดอาการแพ้ความสูงที่ดีที่สุดคือการวางแผนการเดินทาง โดยค่อยๆ ไต่ระดับความสูง (Gradual ascent) เพื่อป้องกันไม่ให้เราขึ้นสูงเกินไป (Too high) และเร็วเกินไป (Too fast) เพื่อให้ร่างกายของเราได้มีเวลาปรับตัวเข้ากับระดับความดันอากาศที่ลดลงที่ความสูงนั้นๆ หรือที่เรียกว่า Acclimatization ครับ ดังนั้น ไม่ได้หมายความว่า จะไปขึ้นที่สูงทุกครั้ง ต้องกินยา Diamox ทุกครั้ง ถ้าเราค่อยๆไป ไปช้าๆ ร่างกายปรับตัวได้ ยาอาจจะไม่จำเป็นเลยก็ได้ ดังนั้นต้องพิจารณาหลายๆ ปัจจัยครับ

โดยทั่วไป ในกรณีการเดินเขา เรามักจะแนะนำว่าไม่ควรเดินขึ้นสูงมากกว่า 500 เมตรต่อวัน และ ถ้าหากแผนการเดินทางของเราเดินขึ้นไปสูงมากกว่า 1,000 . . . → Read More: ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยเกี่ยวกับการป้องกันโรคแพ้ความสูง #1 (High altitude sickness misconception 1)