ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยเกี่ยวกับการป้องกันโรคแพ้ความสูง #2 (High altitude sickness misconception 2)

trekking

วันนี้เรามาว่ากันต่อถึง ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยในเรื่อง High altitude sickness ครับ ใครยังไม่ได้อ่านตอนแรก แนะนำให้กลับไปอ่านก่อนครับ ที่นี่

ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยต่อมาคือ

3. “เดึ๋ยวก่อนไปที่สูง หรือขึ้นเขา แวะซื้อออกซิเจนกระป๋องไปก็พอแล้ว มันช่วยได้มาก”

ข้อนี้ก็เป็นความเข้าใจผิดที่พบบ่อย ใครเคยไปที่สูงมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นที่ภูเขาสูงๆในเมืองจีน เช่น ภูเขามังกรหยก หรือแถบทิเบต เลห์ คุซโก ฯลฯ เรามักจะเห็นมีคนขายออกซิเจนกระป๋อง ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกระป๋องสเปรย์ มีขนาดแตกต่างกันไป ซึ่งมีน้ำหนักเบามาก ตรงฝาก็จะมีปุ่มกด และมักจะมีพลาสติกคล้ายๆกรวยให้เอาหน้าไปแนบ เวลาจะใช้ เมื่อพอกดปุ่ม จะมีเสียงฟืดๆ และจะมีออกซิเจนออกมาคล้ายเวลาเราใช้สเปรย์ ออกซิเจนแบบนี้นักท่องเที่ยวนิยมซื้อกันมาก เรามาดูกันดีกว่าครับ ว่าจริงๆแล้วใช้ได้ผลหรือเปล่า

ก็ต้องบอกอย่างนี้ครับ ในทางการแพทย์ Oxygen เป็นสิ่งสำคัญ และใช้รักษาอาการจากโรคแพ้ที่สูงได้ เพราะโรคนี้เกิดจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ดังนั้นการให้ออกซิเจนเข้าไปก็ย่อมช่วยได้ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า ออกซิเจนกระป๋องที่เราซื้อๆกัน มีออกซิเจนจริงๆเท่าไร ส่วนใหญ่แล้วข้างกระป๋องจะบอกว่ามี 5-8 ลิตร ซึ่งก็ไม่มีใครรู้ว่ามี Oxygen 100% จริงๆหรือเปล่า (หรือเป็นแค่อากาศอัด ซึ่งมีปริมาณออกซิเจนจริงๆน้อยกว่านั้น) สมมุติว่าเป็น oxygen จริงๆ 8 ลิตร เวลาเรากด 1 ฟืดจะได้ออกซิเจนสักเท่าไร และจะพอกับความต้องการของร่างกายไหม เป็นประเด็นที่ต้องมาดูกันต่อครับ

ในทางการแพทย์แล้ว เวลาใครมีอาการ high altitude sickness แบบน้อยๆ เช่น Acute mountain sickness การรักษาอย่างหนึ่ง คือการให้ออกซิเจนเสริมเข้าไป แพทย์จะให้ออกซิเจนทางสายยางเข้าที่จมูก โดยปล่อยออกซิเจน 100% ปริมาณ 2 ลิตรต่อนาที เป็นเวลาสัก 10-20 นาที อาการคนไข้ก็มักจะดีขึ้น ลองคำนวนดูไหมครับว่าต้องใช้ออกซิเจนเท่าไร 2 ลิตรต่อนาที เปิดตลอดเป็นเวลา 10-20 นาที นั่นคือต้องใช้ออกซิเจนประมาณ 20-40 ลิตร ลองย้อนกลับมาดูกันครับว่า . . . → Read More: ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยเกี่ยวกับการป้องกันโรคแพ้ความสูง #2 (High altitude sickness misconception 2)