Thai Travel Clinic

Hospital for Tropical Diseases
Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University

Main Menu

มี 46 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

 

ทัศนคติต่อปัญหาสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่มารับคำปรึกษาก่อนการเดินทางจากคลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทางในประเทศไทย: การศึกษาไปข้างหน้า

 

ทีมาของโครงการวิจัย

 

            ปัจจุบันมีการเพิ่มขึ้นของนักเดินทางไปยังทวีปต่างๆทั่วโลกและจากข้อมูลพบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นทุกๆปี เช่นเดียวกันกับประเทศไทย การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณของนักเดินทางจากประเทศกำลังพัฒนาไปยังประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งในอดีตข้อมูลความเสี่ยงและอุบัติการณ์ของการเจ็บป่วยจากการเดินทาง ทำการศึกษาในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกเป็นหลัก รวมทั้งยังไม่มีข้อมูลจากงานวิจัยในแง่ของการประเมินทัศนคติของนักท่องเที่ยวมาก่อน

 

              ดังนั้นการศึกษานี้จึงการศึกษาแรกในประเทศไทยที่ทำการศึกษาประเมินทัศนคติโดยใช้ภาพเป็นตัวแทนความเสี่ยงต่อสุขภาพของนักเดินทาง อันจะเป็นประโยชน์สำหรับการอ้างอิงเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาทัศนคติต่อปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ รวมทั้งสามารถช่วยในการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแพทย์เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวในการให้คำแนะนำประเมินความเสี่ยงก่อนการเดินทางให้กับนักเดินทางต่อไปในอนาคต โดยจะทำในนักเดินทางที่มาปรึกษาที่คลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวเป็นครั้งแรก  

            การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว   และหลักสูตร Master degree in Clinical Tropical Medicine (MCTM)

 

หัวหน้าโครงการวิจัยคือ เรือเอก แพทย์หญิงธัญญ์พัทธ์ หิรัญรัศมี แพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 2

 

ผู้ที่สามารถเข้าร่วมโครงการวิจัยได้คือ 

 

  1. นักเดินทางชาวไทยทั้งหญิงและชาย ที่เดินทางไปยังประเทศกำลังพัฒนา ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
  2. นักเดินทางชาวตะวันตกที่ท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  3. ยินดีเข้าร่วมในงานวิจัยชิ้นนี้

 

ขั้นตอนการปฏิบัติตัวหากท่านเข้าร่วมโครงการวิจัย:

 

                การศึกษาวิจัยจะทำโดยเก็บข้อมูลทัศนคติของนักเดินทางต่อ 14 ข้อของปัญหาสุขภาพ โดยแบบทดสอบออนไลน์ ผ่านทางการสแกน QR code การประเมินนี้จะมีทั้งหมด 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกก่อนรับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนการเดินทาง ครั้งที่สองหลังรับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนการเดินทาง และติดตามนักเดินทางไปจนถึงทันทีที่เดินทางกลับจากการท่องเที่ยว หรือภายในเวลาอย่างน้อย 1 เดือนในกรณีที่เดินทางระยะเวลานานกว่า 1 เดือน จึงจะทำการประเมินอีกครั้งด้วยแบบสอบถามครั้งสุดท้าย

 

 

ทัศนคติต่อปัญหาสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่มารับคำปรึกษาก่อนการเดินทางจากคลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทางในประเทศไทย: การศึกษาไปข้างหน้า