Thai Travel Clinic

Hospital for Tropical Diseases
Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University

Main Menu

มี 137 ผู้มาเยือน และ สมาชิกหนึ่งคน ออนไลน์

 

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กับการเป็น
สถาบันหลักในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว

 

 

                    คณะเวชศาสตร์เขตร้อน เป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2503  โดยศาสตราจารย์นายแพทย์จำลอง หะริณสุต และศาสตราจารย์แพทย์หญิงคุณหญิงตระหนักจิต หะริณสุต คณะเวชศาสตร์เขตร้อนมีพันธกิจสำคัญ 3 ด้าน คือ การเป็นสถาบันการเรียนการสอนด้านเวชศาสตร์เขตร้อนในระดับหลังปริญญา การให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเขตร้อนในระดับตติยภูมิ และการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในด้านเวชศาสตร์เขตร้อน

                   นับตั้งแต่ก่อตั้งคณะเวชศาสตร์เขตร้อนในปี 2503 คณะฯได้มีการพัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นโดยลำดับ ปัจจุบันคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำ และเป็นศูนย์กลางในการศึกษาวิจัยด้านและรักษาโรคเขตร้อนในระดับเอเชีย นอกจากนี้คณะฯยังมีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศมากมาย และมีสำนักงานทางขององค์กรระหว่างประเทศ ที่ตั้งอยู่ในคณะฯ ถึง 6 ศูนย์ เช่น SEAMEO TropMed Network, Mahidol-Oxford Research Unit, Mahidol-Osaka center for infectious diseases, WHO Collaborating center for clinical management of malaria ฯลฯ นอกจากศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศแล้ว คณะเวชศาสตร์เขตร้อนยังมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัย และสถาบันทางวิชาการต่างๆ รวมถึงกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในด้านการศึกษาวิจัย การฝึกอบรม การดูแลรักษาผู้ป่วย และการกำหนดนโยบาย เพื่อให้สมดังวิสัยทัศน์ของมหาิวิทยาลัยมหิดลที่จะเป็น "ปํญญาของแผ่นดิน" Wisdom of the Land 

                   รายละเอียดความเป็นมาของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน โครงสร้างการบริหาร วิสัยทัศน์ พันธกิจ ตลอดจนผลงานของคณะ สามารถศึกษาได้จาก website ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน Click ที่นี่

 

 

 

                   การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว ส่วนใหญ่จะฝึกอบรมที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในสังกัดของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ขนาด 250 เตียง เปิดให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเขตร้อน โรคพยาธิ โรคที่เกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยว รวมถึงโรคทั่วไปทางอายุรกรรม และกุมารเวชกรรม นอกจากให้การดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว โรงพยาบาลยังเป็นที่ฝึกอบรมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ต่างๆทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามาศึกษาดูงานด้านโรคเขตร้อนเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

                  ปัจจุบันโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนได้ย้ายที่ทำการมายังอาคารหลังใหม่ คืออาคารราชนครินทร์ ซึ่งเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลกเขตร้อนของเอเชีย มีทั้งหมด 16 ชั้น ซึ่งในอาคารนี้จะมีแผนกและหน่วยงานต่างๆมากมาย ทั้งแผนกผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยวิกฤต ห้องแยกโรค ฯลฯ รวมถึงและเป็นที่ตั้งของคลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง และเป็นสำนักงานของชมรมเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อีกด้วย